ttb ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝาก มีผล 18 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเผยว่า จากกรณีที่การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.50% ต่อปี เป็น 1.75% ต่อปี

ธนาคารกรุงเทพ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เงินฝาก-เงินกู้ มีผล 11 เม.ย. นี้ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 ttb ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้-เงินฝาก มีผล  18 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

ธอส. ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ มีผล 10 เม.ย. 66

เพื่อให้สอดรับกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าว ทีเอ็มบีธนชาตได้พิจารณาปรับดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ โดยธนาคารได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการออมเงิน เพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น จึงได้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ดังนี้

สำหรับลูกค้าบุคคลทั่วไป •บัญชีเงินฝากประจำทั่วไป 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน ปรับเพิ่มขึ้นสูงสุด 0.20% ต่อปี •บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการออมเงินที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกค้า ได้แก่ บัญชี ทีทีบี ดอกเบี้ยด่วน ประเภท 3 เดือน ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.60% เป็น 1.10% ต่อปี โดยลูกค้าสามารถรับดอกเบี้ยไปใช้หลังการฝากเงินเพียง 7 วัน และ บัญชีเงินฝากประจำพิเศษ ทีทีบี เอ็กซ์คลูซีฟ 9 เดือน ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.30% เป็น 1.20% ต่อปี โดยลูกค้าสามารถฝากระยะสั้น และได้รับผลตอบแทนสูง

สำหรับลูกค้านิติบุคคล • กลุ่มลูกค้านิติบุคคลทั่วไป ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน บัญชีเงินฝากประจำ 24 เดือน และ 36 เดือน ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.20% เป็น 1.40% ต่อปี และ 1.70% ต่อปี ตามลำดับ • กลุ่มลูกค้าที่เป็นสถาบันการเงิน บัญชีเงินฝากประจำ 24 เดือน และ 36 เดือน ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 0.20% เป็น 1.10% ต่อปี และ 1.40% ต่อปี ตามลำดับ โดยการปรับขึ้นเงินฝากดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา

ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท

  • ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี MLR (Minimum Loan Rate) 0.25%
  • ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย MOR (Minimum Overdraft Rate) สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี 0.25%
  • ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรายย่อยชั้นดี MRR (Minimum Retail Rate) 0.20%

มีผลตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ จากการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ธนาคารได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลลูกค้าทุกกลุ่ม และยังคงมาตรการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

ถึงแม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2566 นี้ ยังถูกประเมินว่าเติบโตได้ดีต่อเนื่อง แต่ยังคงมีปัจจัยภายนอกประเทศให้จับตามองอย่างใกล้ชิด การปรับอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้โดยเฉพาะในกลุ่มเงินฝากจะช่วยให้คนไทยสามารถสร้างผลตอบแทนจากการออมเงินได้มากขึ้น ตอกย้ำเป้าหมายของธนาคารในการ สร้างการชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยอย่างแท้จริง

เช่นเดียวกับกรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำอีก 0.07-0.35% ต่อปี และอัตราเงินกู้ในอัตรา 0.10-0.25% ต่อปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2566 สอดคล้องกับทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา

กรุงศรีมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ดังนี้

  • สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) เพิ่มขึ้น 0.20% เป็น 6.830%
  • สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) เพิ่มขึ้น 0.25% เป็น 7.125%
  • สำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) เพิ่มขึ้น 0.10% เป็น 6.900%

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

ธนาคารกสิกรไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภท สูงสุด 0.35% สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นธนาคารพิจารณาปรับระดับอัตราดอกเบี้ยให้มีความสอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในตลาดและระบบธนาคารพาณิชย์ โดยธนาคารปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามรายละเอียดดังนี้

  • อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR)ปรับเพิ่ม0.25%จาก6.57% เป็น6.82%
  • อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (MOR)ปรับเพิ่ม0.25%จาก6.89% เป็น7.14%
  • อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR)ปรับเพิ่ม0.25%จาก6.60% เป็น6.85%

โดยให้มีผลในวันที่ 13 เมษายน 2566 เป็นต้นไป

ธนาคารกรุงไทยธนาคารปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด 0.35% ต่อปี เพื่อส่งเสริมการออมให้ผู้ฝากเงินมีรายได้เพิ่มขึ้น ในภาวะที่ค่าครองชีพสูงขึ้น

ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุด 0.25% ต่อปี โดยปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) เพิ่มขึ้น 0.25% ต่อปี เป็น 6.60% ต่อปี ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) เพิ่มขึ้น 0.20% ต่อปี เป็น 7.07% ต่อปี และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อย (MRR) 0.25% ต่อปี เป็น 7.12%ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2566 เป็นต้นไป